• Welcome to ลงประกาศฟรี โพสฟรี โปรโมทเว็บไซด์ให้ติดอันดับ SEO ด้วย PBN.
 

poker online

ufa

ufabet

ปูนปั้น

สล็อตเว็บตรง

สล็อตเว็บตรง

บาคาร่า168

PG SLOT

สล็อต

pgslot

PG SLOT

PG SLOT

pg slot

PG SLOTเว็บตรง

PG SLOT เว็บตรง

pg slot

บาคาร่า

PG SLOT

pg slot

PG SLOT

บาคาร่า168

PG SLOT

สล็อต

บาคาร่า168

PG SLOT

สล็อตเว็บตรง

pg slot

สล็อตเว็บตรง

เว็บสล็อตใหม่ล่าสุด

สล็อต pg เว็บตรง แตกหนัก

คนฆ่าตัวตายในสถานการณ์โควิด วิกฤติซ้อนวิกฤติ

Started by PostDD, July 27, 2021, 10:39:24 PM

Previous topic - Next topic

PostDD




เมื่อ 'วิกฤติโควิด' กำลังทำให้คนไทยเครียด และคิดสั้นมากขึ้น ทั้งที่สำเร็จและไม่สำเร็จ รัฐบาลจึงควรใส่ใจ นอกจากเร่งแก้ปัญหาด้านสาธารณสุข

วิกฤติโควิด กำลังทำให้คนไทยเครียด และคิดสั้นมากขึ้น หลายสัปดาห์ที่ผ่านมา มีข่าวคนฆ่าตัวตายจำนวนมาก ทั้ง

- กรณี 'ประกายฟ้า หรือ ฟ้า' ยูทูปเบอร์ชื่อดัง กระโดดลานจอดรถ เสียชีวิต

- ตำรวจติดโควิด ผูกคอตายเสียชีวิต 

- ลูกป่วยโควิดตาย พ่อกระโดดตึกตายตาม


จากข่าวคนฆ่าตัวตายเพิ่มขึ้น ทั้งที่สำเร็จและไม่สำเร็จ สะท้อนความเครียดที่เพิ่มขึ้นของประชาชนในยุคโควิด ความกังวลดังกล่าวสอดคล้องกับกรมสุขภาพจิต ที่ออกมาเตือนว่าโควิด 19 กำลังทำให้คนคิดสั้นมากขึ้น

การเพิ่มขึ้นของจำนวนคนฆ่าตัวตายในสถานการณ์โควิดเกิดขึ้นแล้วในหลายประเทศ โดยเฉพาะในช่วงที่การระบาดรุนแรง เช่นในญี่ปุ่น ปีก่อนพบว่าอัตราการฆ่าตัวตายเพิ่มสูงสุดในรอบ 11 ปี จากผลการศึกษาของมหาวิทยาลัยฮ่องกงร่วมกับสถาบันผู้สูงอายุในโตเกียว พบว่า อัตราการฆ่าตัวตายช่วง ก.ค. ถึง ต.ค. 2563 เพิ่มขึ้นถึง 16 % จากช่วงเดียวกันของปี 2562

หรือในเกาหลีใต้ ที่สถานการณ์โควิดทำให้อัตราการฆ่าตัวตาย และซึมเศร้าเพิ่มขึ้น ข้อมูลจากศูนย์สุขภาพจิต ประเทศเกาหลีใต้ พบว่า จำนวนประชาชนปรึกษาปัญหาสุขภาพจิตเพิ่มขึ้นถึง 20% จากปี 2562 

สำหรับประเทศไทยนับจากวิกฤติเศรษฐกิจ 2540 หรือต้มยำกุ้ง อัตราการฆ่าตัวตายก็ลดลงมาโดยตลอด กระทั่งปัจจุบัน จากปัญหาโควิด ทำให้อัตราการฆ่าตัวตายกลับมาเพิ่มขึ้นอีกครั้ง

ทั้งนี้ ก่อนโควิด สถิติคนไทยฆ่าตัวตายอยู่ที่ประมาณ 6-7 คนต่อประชากร 1 แสนคน/ปี เช่น

- ปี 2560 ในประชากร 1 แสนคน/ปี มีคนฆ่าตัวตายสำเร็จที่ 6 คน

- ปี 2561 ในประชากร 1 แสนคน/ปี มีคนฆ่าตัวตายสำเร็จที่ 6-6.5 คน 

- ปี 2562 ในประชากร 1 แสนคน/ปี มีคนฆ่าตัวตายสำเร็จที่ 6.36-6.6 คน แต่นับจากมีโควิด สถิติก็เพิ่มขึ้น

- ปี 2563 ในประชากร 1 แสนคน/ปี มีคนฆ่าตัวตายสำเร็จที่ 7.37 คน สูงขึ้นจากปี 2562 ราว 10% - ขณะที่ใน 5 เดือนแรกของปี 2564 สถิติใกล้เคียงกับทั้งปีของปีก่อน

ตราบใดที่การระบาดยังเพิ่ม มีจำนวนผู้ติดเชื้อและผู้เสียชีวิตมากขึ้น ผลกระทบทางเศรษฐกิจรุนแรงขึ้น ก็เสี่ยงทำให้คนเครียด และคิดสั้นมากขึ้น ทั้งนี้เมื่อย้อนกลับไปดูตอนวิกฤติต้มยำกุ้ง สถิติฆ่าตัวตายอยู่ที่ 8 คนต่อ 1 แสนคน วิกฤติโควิดคราวนี้กำลังพาสังคมไทยกลับไปสู่จุดนั้นอีกครั้ง

ทั้งนี้ อาจแบ่งความเครียดหลักๆ ได้จาก 2 สาเหตุ

สาเหตุแรก ความเครียดจากโรคภัย ทั้งกลัวติด กลัวตาย ความเครียดที่ติดโควิดแล้วต้องรอเตียงอย่างไม่รู้อนาคต หาเตียงไม่ได้ ความเครียดจากกลัวแพร่โรคให้คนในครอบครัว ความเครียดจากการต้องอยู่คนเดียวระหว่างรอเตียงหรือทำการรักษา นำไปสู่ความสิ้นหวังและขาดกำลังใจ

สาเหตุที่สอง ความเครียดจากผลกระทบทางเศรษฐกิจ ทั้งตกงาน ถูกลดชั่วโมงทำงาน สถานประกอบการถูกปิดทั้งจากพิษเศรษฐกิจและมาตรการเยียวยาของรัฐ ทำให้รายได้ลดลง ผู้นำครอบครัวขาดความสามารถดูแลครอบครัว รู้สึกหมดหวัง สูญเสียคุณค่าในตัวเอง 

ตัวอย่างผลกระทบทางเศรษฐกิจ เช่น ล่าสุดสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ หรือ สสส. ระบุว่า โควิด 19 เสี่ยงทำให้ 1 ใน 4 ของแรงงานภาคท่องเที่ยวตกงาน หรือคิดเป็นจำนวนมากถึง 4 ล้านคน โดยหวั่นว่า แรงงานกลุ่มนี้จะเครียดและฆ่าตัวตายเพิ่มขึ้น ซึ่งก็สอดคล้องกับข้อมูลของไทยเมื่อปีก่อน ที่พบว่า กลุ่มอาชีพพนักงานและคนว่างงานมีอัตราการฆ่าตัวตายเพิ่มสูงขึ้นแบบก้าวกระโดด ทั้งหมดนี้สะท้อนว่าปัจจัยทางเศรษฐกิจกำลังทำให้คนคิดสั้นเพิ่มขึ้น

นอกจากนี้ มีข้อควรระวังอีก 2 ประการ กล่าวคือ 

ประการแรก พบว่าความเครียดหรือวิตกกังวลมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นในกลุ่มแพทย์ พยาบาล เจ้าหน้าที่สาธารณสุข ผู้ปฏิบัติหน้าที่ ซึ่งต้องปฏิบัติงานอย่างหนักภายใต้ความเครียด มาเป็นระยะเวลานาน 

ประการที่สอง จากประสบการณ์รับมือการแพร่ระบาดของโรคติดต่อในอดีตพบว่า ความเครียดหรือวิตกกังวลก่อผลกระทบ ทิ้งร่องรอยยาวนานแม้การแพร่ระบาดจบลงแล้ว โดยเกิดขึ้นทั้งในคนธรรมดา และบุคลากรด้านสาธารณสุข

เรียกว่าวิกฤติโควิด ในทางตรง ทำให้คนเจ็บป่วยทางกาย ในทางอ้อม ยังส่งผลให้คนเจ็บป่วยทางใจด้วย โดยความทุกข์ทางใจเกิดขึ้นได้ ในทุกชนชั้นรายได้ วัย อาชีพ ไม่เลือกว่าเป็นผู้ติดเชื้อหรือไม่ 

จากสถานการณ์โควิดที่รุนแรงขึ้น ยังไม่เห็นปลายทางของวิกฤต ผลกระทบจากปัญหาสุขภาพและเศรษฐกิจมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เสี่ยงทำให้คนไทยเครียดและคิดสั้นมากขึ้น 

รัฐบาลจึงควรใส่ใจ นอกจากเร่งแก้ปัญหาด้านสาธารณสุข คือ ลดจำนวนผู้ติดเชื้อ ควบคุมการระบาดให้ได้ ยังควรพยายามเยียวยาเพื่อลดผลกระทบทางเศรษฐกิจให้ประชาชนอย่างทันท่วงที 

โดยเฉพาะ สำหรับบุคลากรด้านสาธารณสุข ซึ่งรับภาระรักษาผู้ป่วย ที่นับวันเผชิญความเครียดมากขึ้น ต้องดูแลผู้ป่วยเพิ่มขึ้น ในระยะสั้น สิ่งที่รัฐควรทำทันทีคือ รัฐบาลต้องเพิ่มความมั่นใจในการป้องกันโรค เช่น หาวัคซีนเข็ม 3 ที่มีประสิทธิภาพมาฉีดอย่างรวดเร็ว ตลอดจนเพิ่มค่าตอบแทนให้บุคลากรด้านสาธารณสุขอย่างเหมาะสม ซึ่งอย่างน้อยพอช่วยบรรเทาความเครียด และเพิ่มความมั่นใจในการทำงานมากขึ้น

สุดท้าย เราทุกคนควรใส่ใจคนรอบตัวมากขึ้น เพื่อลดความเสี่ยงที่จะเกิดเรื่องร้ายกับคนใกล้ตัวกันครับ