• Welcome to ลงประกาศฟรี โพสฟรี โปรโมทเว็บไซด์ให้ติดอันดับ SEO ด้วย PBN.
 

poker online

ufa

ufabet

ปูนปั้น

สล็อตเว็บตรง

สล็อตเว็บตรง

บาคาร่า168

PG SLOT

สล็อต

pgslot

PG SLOT

PG SLOT

pg slot

PG SLOTเว็บตรง

PG SLOT เว็บตรง

pg slot

บาคาร่า

PG SLOT

pg slot

PG SLOT

บาคาร่า168

PG SLOT

สล็อต

บาคาร่า168

PG SLOT

สล็อตเว็บตรง

pg slot

สล็อตเว็บตรง

เว็บสล็อตใหม่ล่าสุด

สล็อต pg เว็บตรง แตกหนัก

สวพส. ผนึกกำลัง 2 พันธมิตร พัฒนา 'กัญชง' สู่อุตสาหกรรม

Started by Panitsupa, July 29, 2021, 04:15:36 AM

Previous topic - Next topic

Panitsupa




และร่วมกันนำองค์ความรู้ที่ได้จากงานวิจัยไปต่อยอดสู่การใช้ประโยชน์ทั้งในเชิงนโยบาย เชิงสาธารณะ และเชิงพาณิชย์ ตลอดจนถ่ายทอดเทคโนโลยีและส่งเสริมความร่วมมือทางวิชาการกับภาคส่วนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยที่ผ่านมาแต่ละหน่วยงานได้มีการดำเนินงานในการวิจัยพัฒนาและส่งเสริมในเรื่องของกัญชงมาอย่างต่อเนื่อง


นายวิรัตน์ ปราบทุกข์ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง เปิดเผยว่า สถาบันวิจัยและและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) หรือ สวพส. ร่วมกับ มูลนิธิโครงการหลวง สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้วิจัยและพัฒนากัญชง (Hemp) เพื่อให้เป็นพืชเศรษฐกิจบนพื้นที่สูง มาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ ปี พ.ศ.2549 จนถึงปัจจุบัน ผลการวิจัยและพัฒนา ทำให้จากอดีตที่แม้แต่การใช้ประโยชน์ตามภูมิปัญญาและวิถีของชนเผ่าม้ง เพื่อทำเครื่องนุ่งห่มและใช้สอยในครัวเรือนนั้น ยังผิดกฎหมาย คือ พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มีข้อมูลและองค์ความรู้ที่นำมาสู่แก้ไขกฎหมาย เพื่อส่งเสริมกัญชงเป็นพืชเศรษฐกิจ  

โดยอาศัยความร่วมมือของหลายภาคส่วน และผลการวิจัยและพัฒนาจำนวนไม่น้อย นับจากปีพ.ศ. 2549-จนถึงปัจจุบัน กว่า 15 ปี เริ่มจากการพัฒนาพันธุ์เพื่อให้มีสารเสพติดต่ำกว่าที่กฎหมายกำหนด การพัฒนาวิธีการเพาะปลูก การแก้กฎหมาย และสร้างการตลาด เพื่อให้สามารถปลูกเป็นอาชีพได้จริง ในช่วงแรกๆ มุ่งการใช้ประโยชน์จากเส้นใยสำหรับในครัวเรือน ต่อมาขยายการศึกษาวิจัยสู่การใช้ประโยชน์จากแกน ลำต้น เมล็ด และเส้นใยในเชิงอุตสาหกรรม และนำไปสู่การศึกษาวิจัยที่มุ่งการใช้ประโยชน์ครอบคลุมทุกส่วน ทั้งเส้นใย เมล็ด และช่อดอก สำหรับอาหาร เวชสำอาง และการแพทย์ ในขณะนี้ โดยมีผลงานที่สำคัญคือ

ระยะที่ 1 ปี พ.ศ.2549-2554 ปรับปรุงและขึ้นทะเบียนพันธุ์ 4 พันธุ์ เป็นพันธุ์ที่มีปริมาณ THC ต่ำกว่า 0.3% คือ RPF1, RPF2, RPF3 และ RPF4 ควบคู่กับวิจัยและพัฒนาวิธีการเพาะปลูกที่เหมาะสม ได้แก่ ระยะปลูก ช่วงเวลาปลูก อายุเก็บเกี่ยว และระบบการปลูกเฮมพ์อย่างถูกต้องตามกฎหมาย การแปรรูปผลิตภัณฑ์ การตลาด และนำข้อมูลไปสู่การจัดทำแผนยุทธศาสตร์การส่งเสริมการปลูกเฮมพ์เป็นพืชเศรษฐกิจบนพื้นที่สูง (2552-2556) แผนปฏิบัติการพัฒนาเฮมพ์บนพื้นที่สูง ระยะ 5 ปี (พ.ศ.2553-2557) และแผนปฏิบัติการพื้นที่นำร่องส่งเสริมการปลูกเฮมพ์ใน 5 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่น่าน เชียงราย ตาก และเพชรบูรณ์


ระยะที่ 2 ปี พ.ศ.2555-2559 สวพส. ร่วมกับหน่วยงานต่าง ๆ วิจัยและพัฒนาตามแผนยุทธศาสตร์การส่งเสริมการปลูกเฮมพ์เป็นพืชเศรษฐกิจบนพื้นที่สูง ได้แก่ กองควบคุมวัตถุเสพติด สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ดำเนินการเพื่อแก้ไขกฎหมายให้สามารถปลูกเฮมพ์ได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย สถาบันสำรวจและติดตามการปลูกพืชเสพติด สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ป.ป.ส.) พัฒนาระบบควบคุมการปลูกที่เหมาะสม และสนับสนุนการดำเนินงานของสถาบันพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (Institute of Small and Medium Enterprises Development, ISMED) กระทรวงอุตสาหกรรม ดำเนิน "โครงการส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมเฮมพ์อย่างสร้างสรรค์แบบครบวงจร" เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์จากส่วนต่างๆ ของกัญชงที่เชื่อมโยงสู่ภาคปฏิบัติในโรงงานอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูป และ สวพส. ได้ศึกษาวิจัยต่อเนื่อง ในด้านการศึกษาระบบส่งเสริมการปลูกภายใต้ระบบควบคุม ในพื้นที่นำร่อง 5 จังหวัด

การพัฒนาระบบการผลิตเมล็ดพันธุ์เฮมพ์ภายใต้ระบบควบคุม การพัฒนาชุดตรวจปริมาณ THC ภาคสนาม (THC test kit) ร่วมกับกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ การวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์จากเส้นใยเฮมพ์ที่สอดคล้องกับความต้องการของตลาด เช่น เสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่ม เฟอร์นิเจอร์ วัสดุก่อสร้าง การวิจัยและพัฒนาต้นแบบอาหารสุขภาพจากเมล็ดเฮมพ์ เช่น น้ำมันในแคปซูล และโปรตีนอัดเม็ด ซึ่งพบว่าเมล็ดกัญชงที่มีอยู่ในปัจจุบัน 4 พันธุ์ มีน้ำมัน 28.06-29.62 % และเมื่อสกัดด้วยวิธีการบีบเย็นจะได้ผลผลิตน้ำมัน 22.29% ซึ่งมีกรดไขมันได้แก่โอเมก้า 3, โอเมก้า 6 และโอเมก้า 9 เท่ากับ 20.91, 58.23, 9.74 กรัมต่อน้ำมันเฮมพ์ 100 กรัม และมีโปรตีนที่ในกากเมล็ดเฮมพ์ 33.25 % 


ระยะที่ 3 ปี พ.ศ.2560-ปัจจุบัน มุ่งศึกษาวิจัยเพื่อปรับปรุงพันธุ์และพัฒนาเทคโนโลยีการเพาะปลูก ในการเพิ่มผลผลิตและคุณภาพผลผลิตให้สอดคล้องกับความต้องการใช้ประโยชน์ โดยร่วมมือกับสถาบันการศึกษา หน่วยงานรัฐ และเอกชน เพื่อขยายผลและผลักดันเฮมพ์เป็นพืชเศรษฐกิจใหม่ของไทยตามนโยบายรัฐบาล ทั้งด้านเส้นใย อาหาร เวชสำอาง และการแพทย์ เช่น ร่วมกับสำนักงานวิจัยและพัฒนาการทางทหาร กองทัพบก และกรมพลาธิการทหารบก วิจัยและพัฒนาเครื่องแต่งกายทหารจากเส้นใยเฮมพ์ 3 ชนิด คือ ชุดพราง เสื้อยืด และถุงเท้า กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข โดยศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 1 เชียงใหม่ พัฒนาชุดตรวจวัดปริมาณ THC อย่างง่าย (THC strip test) ซึ่งมีค่าใช้จ่ายน้อยกว่าการส่งตัวอย่างตรวจในห้องปฏิบัติการ ประมาณ 15-25 เท่า รวมทั้งการถ่ายทอดและเผยแพร่ความรู้ให้กับเกษตรกร ภาครัฐ และเอกชน ผ่านการจัดฝึกอบรม สัมมนา ศึกษา ดูงาน ผลงานทางวิชาการ เอกสาร และคู่มือต่างๆ

ข้อจำกัดที่สำคัญของการสนับสนุนให้กัญชงเป็นพืชเศรษฐกิจของประเทศไทยคือ ข้อมูล พันธุ์ และ การเตรียมการด้านการตลาด ซึ่งกฎหมายเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และเปิดโอกาสให้ใช้ประโยชน์ได้กว้างขวางยิ่งขึ้น แต่ข้อมูลที่มีอยู่ในปัจจุบัน เป็นผลการวิจัยที่เน้นใช้ประโยชน์จากเส้นใยเป็นหลัก จึงยังไม่สมบูรณ์มากพอสำหรับวัตถุประสงค์อื่นๆ ซึ่งความสนใจปลูกขณะนี้ส่วนใหญ่มุ่งใช้ประโยชน์จาก CBD และเมล็ด และข้อจำกัดที่สำคัญมากอีกประการหนึ่ง คือเมล็ดพันธุ์ที่ยังผลิตได้ปริมาณน้อยมากสำหรับปี พ.ศ.2564 นี้ 

เพราะมีการผลิตจำนวนน้อยเพื่อใช้ในงานวิจัย ไม่สอดคล้องกับความต้องการเพิ่มขึ้นอย่างกระทันหัน ทั้งนี้จะสามารถการผลิตเมล็ดพันธุ์ให้พอเพียงได้เร็วที่สุด คือในปี พ.ศ.2565 การใช้ข้อมูลและเมล็ดพันธุ์นำเข้าจากต่างประเทศอาจจะเป็นอีกช่องทางหนึ่ง แต่อย่างไรก็ตามคงต้องทำอย่างรอบครอบ โดยมีการศึกษาทดลองก่อนนำมาใช้อย่างจริงจัง