• Welcome to ลงประกาศฟรี โพสฟรี โปรโมทเว็บไซด์ให้ติดอันดับ SEO ด้วย PBN.
 

poker online

ufa

ufabet

ปูนปั้น

สล็อตเว็บตรง

สล็อตเว็บตรง

บาคาร่า168

PG SLOT

สล็อต

pgslot

PG SLOT

PG SLOT

pg slot

PG SLOTเว็บตรง

PG SLOT เว็บตรง

pg slot

บาคาร่า

PG SLOT

pg slot

PG SLOT

บาคาร่า168

PG SLOT

สล็อต

บาคาร่า168

PG SLOT

สล็อตเว็บตรง

pg slot

สล็อตเว็บตรง

เว็บสล็อตใหม่ล่าสุด

สล็อต pg เว็บตรง แตกหนัก

สกสว. เปิดเวที STO Forum ระดมสมองกำหนดทิศทางการพัฒนาวิทยาศาสตร์ไทย

Started by Hanako5, July 31, 2021, 12:58:10 AM

Previous topic - Next topic

Hanako5




วันนี้ (30 กรกฎาคม 2564) สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) จัดการประชุม Science and Technology Organization Forum (STO Forum) ครั้งที่ 3/2564 โดยเชิญผู้บริหารหน่วยงานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศไทย เข้าร่วมระดมสมองหารือถึงแนวทางการใช้ประโยชน์โครงสร้างพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และแนวทางการสนับสนุนงบประมาณกองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กองทุนส่งเสริม ววน.) สำหรับโครงการพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการขับเคลื่อนระบบวิทยาศาสตร์เพื่อการพัฒนาประเทศ

โอกาสนี้ รศ.ดร. ปัทมาวดี โพชนุกูล ผู้อำนวยการ สกสว. กล่าวว่า การประชุมในครั้งนี้เป็นการแสดงให้เห็นถึงความร่วมมือของ สกสว. กับหน่วยงานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศไทย ในการร่วมกันกำหนดเป้าหมายและทิศทางการพัฒนาระบบวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศ ซึ่งเป็นความคืบหน้าจากการดำเนินการตามแผนงานต่าง ๆ ความร่วมมือการพัฒนานี้จะนำไปสู่การพัฒนาวิทยาศาสตร์ไทยแบบไร้รอยต่อ อย่างไรก็ตามคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กสว.) ได้มีนโยบายเกี่ยวกับการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์ของประเทศที่สามารถก่อให้เกิดการใช้ประโยชน์ร่วมกันเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด


ทางด้าน ดร.ณิรวัฒน์ ธรรมจักร์ ผู้อำนวยการกลุ่มภารกิจการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สกสว. ได้นำเสนอถึงแนวทางการสนับสนุนงบประมาณกองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม สำหรับโครงการพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี โดยที่ผ่านมา สกสว. ได้ระดมความคิดเห็นจากผู้ทรงคุณวุฒิและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทำให้ได้กรอบกิจกรรมสำคัญและรายละเอียดของลักษณะโครงการที่มีเป้าหมายในการพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี จากนั้น สกสว. ได้เสนอกรอบแนวคิดและแนวทางการสนับสนุน "โครงการพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี" ซึ่งที่ผ่านมาได้นำเสนอต่อคณะอนุกรรมการด้านการพัฒนาระบบนวัตกรรม และคณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อววน.)

โดยกองทุนส่งเสริม ววน. มีวัตถุประสงค์ในการส่งเสริมและสนับสนุนด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) ในหลากหลายมิติ ครอบคลุมถึงการพัฒนาต้นทุนทรัพยากรที่เป็นโครงสร้างพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การวิจัยและนวัตกรรม โครงสร้างพื้นฐานด้านคุณภาพ และการส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากองค์ความรู้ เทคโนโลยี และโครงสร้างพื้นฐานเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและการพัฒนาอย่างยั่งยืน

การพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนั้นเป็นไปตามกรอบนโยบายและยุทธศาสตร์ อววน. โดยมีกิจกรรมสำคัญสำหรับการพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี 5 ด้าน ประกอบด้วย 1) การพัฒนากำลังคนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 2) การพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อเชื่อมโยงและตอบโจทย์การพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่สำคัญ 3) การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้าน ววน. และโครงสร้างพื้นฐานทางคุณภาพของประเทศ 4) การให้บริการเทคโนโลยีและการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีอย่างแพร่หลาย 5) การสื่อสารและสร้างเครือข่ายเชิงกลยุทธ์ด้าน ววน.

ทางด้าน รศ.ดร.ธวัชชัย อ่อนจันทร์ ผู้อำนวยการสถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (สทน.) ได้นำเสนอแนวทางการบริหารและใช้ประโยชน์จากศูนย์ไซโคลตรอน โดยอธิบายว่า เครื่องไซโคลตรอนถือเป็นโครงสร้างพื้นฐานทางด้านเทคโนโลยีนิวเคลียร์ของประเทศ โดยปัจจุบัน สทน. อยู่ระหว่างการดำเนินการสร้างศูนย์ไซโคลตรอนของประเทศ ซึ่งไซโคลตรอนนั้นเป็นเครื่องเร่งอนุภาคไอออน ปัจจุบันการนำมาใช้ประโยชน์ทั้งในภาคธุรกิจรวมถึงทางด้านการแพทย์ ซึ่งจะเป็นส่วนสำคัญในการผลิตสารเภสัชรังสี อย่างเช่นไอโซโทปที่ใช้สำหรับการตรวจและรักษาโรคมะเร็ง ปัจจุบันมีการนำเครื่องไซโคลตรอนมาใช้ประโยชน์ในการผลิตสารเภสัชรังสีเกี่ยวกับการทำ Proton Therapy การรักษาโรคมะเร็งด้วยอนุภาคโปรตอน มีข้อดีคือสามารถปล่อยพลังงานเฉพาะตำแหน่งที่ต้องการ ไม่ทำให้เกิดแผล สามารถปล่อยพลังงานเพื่อทำลายเซลล์มะเร็งในตำแหน่งที่ต้องการ ลดความเสี่ยงจากการผ่าตัด เช่น สามารถใช้ในการรักษามะเร็งสมอง เป็นเทคนิคที่กำลังได้รับความนิยมในปัจจุบัน 

อย่างไรก็ตาม สทน. มีแผนการพัฒนาศูนย์ไซโคลตรอนเพื่อให้บริการงานวิจัยในด้านต่างๆ ด้วย ซึ่งการติดตั้งเครื่องคาดว่าจะแล้วเสร็จในช่วงปลายปี 2564 สามารถเป็นศูนย์กลางในการให้บริการผลิตสารเภสัชรังสี ทำให้คนไทยสามารถเข้าถึงการรักษาโรคด้วยเภสัชรังสีในราคาที่เข้าถึงได้ ถือเป็นการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์ที่สำคัญของประเทศ

นอกจากนี้การประชุมในวันนี้ ที่ประชุมยังได้ร่วมกันระดมสมองเกี่ยวกับการร่วมกันพัฒนาระบบวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศ รวมถึงแนวทางการสนับสนุนและใช้ประโยชน์โครงสร้างพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่เป็นกลไกสำคัญในการพัฒนาประเทศ